Last updated: 16 ม.ค. 2565 | 11073 จำนวนผู้เข้าชม |
10 เทคนิคการประกวดออดิชั่นอย่างไร? ให้ชนะใจกรรมการ
1. การเตรียมความพร้อม
หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาขึ้นบนเวที ลืมเนื้อเพลง ลืมโน้ตเพลงนะครับ ทั้งที่เราซ้อมไปดีแล้วนะครับ เมื่อเราเตรียมความพร้อมซ้อมไป 100% ทันทีที่ขึ้นไปบนเวทีนั้นก็จะเหลือเพียงแค่ 60-70 % เท่านั้นเองนะครับ เพราะฉะนั้นในการเตรียมความพร้อมซ้อมจนแม่นยำจะทำให้ไม่พลาดในการโชว์ต่อหน้าคณะกรรมการเลยครับ
.
2. การสบตากรรมการ
เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่จะบ่งบอกให้ผู้รับสารได้ทราบว่า ผู้ประกวดนั้นมีความรู้สึกอย่างไร เพราะว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจของเรานะครับ ทันทีที่เราสบสายตามองกรรมการหรือว่ามองคนดูแล้วถ่ายทอดออกไปตามบทเพลงที่ร้อง การสื่อความหมายก็จะทำให้ทั้งกรรมการและผู้ฟัง เกิดความประทับใจได้เลยครับ
.
3. อ่อนน้อมถ่อมตน
ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นกฎเหล็กแห่งความสำเร็จมายาวนานนะครับ เมื่อเราสำเร็จมากยิ่งขึ้นยิ่งต้องอ่อนน้อมถ่อมตนนะครับ การอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้เรานั้นได้พบกับโอกาสที่ดีต่างๆมากมาย ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่สำเร็จแค่ไหน ระดับประเทศ ระดับโลก หรือว่าระดับตำบล ระดับจังหวัด ขอเพียงแต่ยิ่งสำเร็จ ยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น เพียงเท่านี้คุณก็จะชนะใจทุกคนมากแล้วล่ะครับ
.
4. การเลือกเพลง
ไม่ว่าคุณจะร้องเพลงดีแค่ไหน เล่นดนตรีดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถชนะการประกวด หรือผ่านการออดิชั่นได้ เพราะว่า….คุณเลือกเพลงผิดนั้นเองครับ การเลือกเพลงนั้นสำคัญมากๆเลยนะครับ ครูเดียมยกตัวอย่างงานประกวดงานหนึ่งที่เกี่ยวกับความรักนะครับ แต่ว่าเพื่อนๆใช้บทเพลงที่เกี่ยวกับความอกหัก ก็คงไม่ดีแน่ๆเลยใช่ไหมครับ ลองจำลองความรู้สึกของผู้จัดงานจะเป็นอย่างไรนะครับ หรือว่างานที่เกี่ยวกับรักสิ่งแวดล้อม แต่ว่าการแต่งกายหรือการเลือกเพลงของเรา เกี่ยวกับพลาสติกหรือการทำลายสิ่งแวดล้อม ก็ไม่ตรงกับ themeงานถูกต้องไหมครับ
.
ทุกท่านอาจจะเคยเห็นว่า นักร้องท่านนี้ร้องเพลงดีแต่ก็ยังไม่ถึงกับเก่งที่สุดในงานนั้น แต่ชนะการประกวดหรือผ่านการออดิชั่น หรือว่า วงดนตรีนั้นเล่นได้ไม่ดีเท่าไร แต่ว่าชนะเลิศการประกวด เพียงเพราะว่าเขารู้ว่าเขารู้เคล็ดลับข้อนี้ไงหละครับ ต่อให้เราจะร้องเพลงดีแค่ไหน หรือเล่นดนตรีดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถผ่านการออดิชั่น หรือได้รับรางวัลการประกวด เท่ากับผู้เข้าประกวด ที่ได้ศึกษางานมาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจใน theme งาน หรือการถ่ายทอด การพูดออกมาจนทำให้เขาได้รับรางวัล หรือผ่านการออดิชั่นนั่นเอง
.
5. เอกลักษณ์
เมื่อทุกท่านไปงานประกวดที่มีคนเยอะมากๆ 30 คน , 100 คน หรืออาจะไปจนถึง 1,000 คน หรือว่าเป็นหมื่นคนหรือทั่วประเทศไทย สิ่งแรกที่เราต้องสร้างนั่นคือ เอกลักษณ์ในการจดจำนั้น
* น้ำเสียงของการร้องผู้เข้าร่วมประกวด
* ฝีมือการเล่นดนตรีของการเล่นประกวดดนตรี
* รวมไปถึงเครื่องแต่งกาย และการแสดงออกทางท่าทางต่างๆ
เพียงเท่านี้ก็จะสร้างการจดจำ ให้กับกรรมการได้แล้วล่ะครับ แล้วเมื่อเรามีเอกลักษณ์แล้วก็อย่าลืมฝึกร้อง ฝึกเล่นดนตรี ให้เกิดความชำนาญด้วยนะครับ
.
6. เตรียมบทพูด
งานประกวดที่ทุกท่านกำลังจะไปประกวดนั้น เกี่ยวกับอะไรครับ ?
ท่อนขึ้นในดนตรี ทำไมยาวนานเหลือเกิน ท่อนโซโล่ระหว่างเพลง ไม่รู้จะทำอะไรดี ทำไมยาวนานเสียเหลือเกิน ในท่อนนี้เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งนะครับ ที่ทุกท่านสามารถจัดเตรียมบทพูด ที่เกี่ยวกับงานในการประกวด บางท่านอาจจะเคยประสบปัญหาว่า ทำไมท่อนดนตรีในท่อนขึ้นนานมากๆ กว่าที่เราจะได้ร้อง ไม่รู้จะทำอะไรดี จับไมค์ไปมา บางท่านแกะเกาสายไมค์ไปมา มองไปมาไม่รู้จะพูดอะไรเสียบุคลิกภาพมากครับ
.
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นงานประกวด หรืองานออดิชั่นในวันนี้ เป็นงานเกี่ยวกับงานรักการอ่าน และสัปดาห์หนังสือ เพื่อนๆลองยกประโยชน์ของการอ่านมาสัก 1 อย่างนะครับ แล้วถ่ายทอดไปด้วยการพูดนะครับ เพียงเท่านี้เราจะสามารถสร้างบรรยากาศการพูดของเราเชื่อมโยงกับงานได้เป็นอย่างดี แล้วยังสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการออดิชั่นหรือการประกวดมากขึ้นเลยครับ
และนอกเหนือจากที่ทุกท่านจะได้คะแนนจากน้ำเสียง และคะแนนจากการเล่นดนตรีแล้ว ยังได้คะแนนจากการเตรียมความพร้อมด้วยนะครับ
7. Stage Movement & Blocking
จะเดินทางซ้ายหรือจะเดินทางขวาดีครับ? ในจุดนี้กรรมการกำลังมองคุณอยู่นะครับว่า คุณมีบุคลิกภาพอย่างไรนะครับ ครูเดียมทำบทเรียนไว้ให้เพื่อนๆ ได้เรียนในหัวข้อที่ชื่อว่า blocking อยู่ในบทที่ 17 สามารถเข้าไปเรียนได้ฟรีเลยนะครับ และเมื่อเพื่อนๆเตรียมความพร้อมในโชว์บนเวทีไม่ว่าจะเป็นทางซ้าย ทางขวานะครับ เดินขึ้นหน้า ถอยหลังนะครับ เพียงเท่านี้ คุณก็จะเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์ที่ดี สร้างความประทับใจให้กับกรรมการ แล้วผู้ชมเป็นอย่างดีเลยล่ะครับ
.
วีดีโอสาธิตการเดินบนเวที
8. การให้เกียรติ
ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมแข่งขัน กับเพื่อนนักดนตรี รวมไปถึง staff หรือว่าทีมงานที่คอยช่วยเหลือทุกท่านในการประกวดหรือการออดิชั่น สิ่งนี้กรรมการกำลังสังเกตพฤติกรรมคุณอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมแข่งขัน เพื่อนนักดนตรี หรือ staff ที่ช่วยเหลือเรา ผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่านควรให้ความเคารพ เช่น การยกมือไหว้ ขอบคุณนักดนตรีที่เล่นให้เรา หรือการยกมือไหว้ขอบคุณพี่ทีมงาน ที่นำไมโครโฟนมาให้เราใช้ในการเข้าประกวด หรือแม้แต่ทีมงานที่คอยจัดคิวช่วยเหลือเรานะครับ สิ่งที่กรรมการและผู้ชมมองเห็นคือ นอกจากคุณจะเป็นคนที่ร้องเพลงเก่ง หรือเล่นดนตรีเก่งแล้ว คุณยังเป็นคนที่มีเสน่ห์มีสัมมาคารวะ แล้วเป็นที่ยอมรับด้วยครับ
.
9. ร้องเพลงจากจิตวิญญาณ
ถ่ายทอดบทเพลงในการร้องอย่างมีความสุข แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ให้ทุกท่านลดความกังวลว่าเราจะแพ้หรือชนะ แต่ให้คิดว่าเรามามอบความสุขให้กับผู้ฟัง ถ่ายทอดอารมณ์จากใจออกไปสู่คนฟังและคิดถึงเรื่องราวความหมายบทเพลงที่เรากำลังร้อง ผู้ฟังจะรู้สึกว่าคุณร้องเพลงได้อารมณ์และยังเป็นที่มาของคำว่าร้องเพลงได้อารมณ์ มี inner อีกด้วย
.
10. ความซื่อสัตย์
มีงานประกวดงานที่ครูเดียมได้มีโอกาสไปตัดสิน ในวันนั้นครูเดียมไปนั่งรอที่หลังเวที ในระหว่างก่อนเริ่มการประกวด ทีมงานจะให้ผู้เข้าแข่งขันมาจับฉลาก เช่น ใครได้เบอร์อะไรเรียงตามลำดับ เช่น คนนี้จับได้เบอร์ 2 เบอร์ 3 ก็ขึ้นเวทีตามลำดับนะครับ ทันใดนั้นก็จะมีผู้เข้าประกวด 1 ท่าน เดินเข้ามาจับฉลาก ทีมงานบอกว่าน้องท่านนี้เป็นตัวเต็งของจังหวัด ซึ่งสามารถร้องเพลงได้เพราะและเก่งมากๆเลยนะครับ ครูเดียมนั่งอยู่หลังเวที แล้วสังเกตเห็นว่าน้องท่านนี้หยิบขึ้นมาได้เบอร์ 1 ซึ่งต้องร้องเป็นคนแรกนะครับ ทันใดนั้นน้องท่านนี้หันซ้ายและหันขวา พร้อมกับเอาหมายเลขเบอร์ 1 นั้น ทิ้งลงไปในกล่องแล้วจับใหม่ครับ
.
สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้นะครับ ทำให้กรรมการรู้สึกได้ว่า คุณเองเป็นคนไม่ซื่อสัตย์เลยล่ะครับ ทันทีที่เราไปประกวด หรือว่าอยู่ในที่สาธารณะครับ เราคิดว่าคนอื่นอาจจะมองไม่เห็น แต่จะมี 1 คนที่เห็นคุณเสมอนะครับ หรือแม้แต่ไม่มีใครเห็น ตัวคุณเองนั่นแหละครับ ที่จะเห็นในสิ่งที่คุณทำว่าคุณซื่อสัตย์หรือว่าไม่ซื่อสัตย์นะครับ และเป้าหมายสูงสุดสิ่งที่ครูเดียมต้องการนอกเหนือจากการที่ทุกท่านจะออดิชั่นผ่านและเข้ารอบการประกวด หรือชนะเลิศการประกวด นั่นคือเรื่องของจริยธรรมและความดี ความเก่งก็ขอให้ควบคู่ไปกับจริยธรรมและความดี เพียงเท่านี้ทุกท่านๆก็จะสำเร็จอย่างยั่งยืนเลยนะครับ
รายละเอียดหลักสูตรเรียนร้องเพลงออนไลน์
https://www.dvoicestudio.com/vocalonline
6 ม.ค. 2566
2 ม.ค. 2566
5 ม.ค. 2566
13 ม.ค. 2565